วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องแมวๆ บทที่2 (Breeding)


ว่าด้วยเรื่องของสายพันธุ์ของแมวไทยเริ่มกันด้วย 
       แมววิเชียรมาศ 
แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยชนิดแรกที่ฝรั่งรู้จักและตั้งชื่อว่า " Siamese Cat" เป็นแมวไทยต้นตระกูล ที่ฝรั่งนำไปปรับปรุงพันธุ์ได้แมวไทยอีกหลายสายพันธุ์ แมววิเชียรมาศเป็นแมวไทยโบราณในสมุดข่อย ยกย่องให้เป็นแมวให้ลาภ ใครเลี้ยงไว้จะได้เป็นขุนนาง แมววิเชียรมาศสายพันธุ์แท้ นัยน์ตาสีฟ้าประกายสดใส ขณะยังเป็นลูกแมวน้อยสีขนออกสีครีมอ่อนๆพอโตขึ้น สีจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาล(สีลูกกวาง)เป็นแมวพันธุ์แท้ ไม่ว่าจะไปผสมกับแมว พันธุ์อะไรก็ตาม จะได้สีแต้ม ตามแบบฉบับ แต่รูปร่างไม่สง่างามเท่า และนิสัยต่างๆ จะไม่ตกทอดไปสู่ แมวลูกผสมด้วย เมื่ออายุมากขึ้น สีสันต่างๆ จะเข้มขึ้นตามลำดับ ในต่างประเทศ ได้นำ แมววิเชียรมาศนี้ ไปผสมกับแมวไทยบางพันธุ์ ได้แมวที่มีแต้มสีอื่นๆอีกหลายสี เช่นแต้มสีเทา สีแดง ลายสีกลีบบัว


          
 เก้าแต้ม
           ตามตำราสมุดข่อยโบราณ จะกำหนดตำแหน่งแต้มไว้อย่างตายตัวโดยที่ แต้มจะต้องเป็นสีดำ บนพื้นตัวสีขาว ในปัจจุบันอนุโลมในเรื่องของ ตำแหน่งแต้ม แต่กำหนดไว้เพียงว่า ต้องมีแต้มให้ครบทั้ง ๙ มีสีขนเป็นพื้นกายสีขาว มีแต้มเป็นสีดำ จำนวน ๙ แห่ง ได้แก่ หู 2 ข้าง , ปลายเท้าทั้ง 4 , ปลายหาง 1, ปลายจมูก 1, อวัยวะเพศ 1
          

 
    แมวขาวมณี
แมวขาวมณี หรือ แมวขาวปลอด สีขนทั้งตัวเป็นสีขาวปลอดไม่มีสีอื่นแซมอยู่เลยแม้แต่ น้อยคาดว่าเริ่มเป็นที่รู้จักในสมัยรัตนโกสินทร์์นี้เอง แมวขาวมณีจะมีสีตาอยู่ 3 แบบ คือ สีฟ้า สีเหลืองและตาสองสี เป็นแมวไทยสีขาวที่หลงเหลืออยู่มากที่สุดในปัจจุบัน รูปร่างขนาดปานกลาง ขนสั้นแน่นจมูกสั้น หูใหญ่ตั้งสูงเด่น จมูกสั้นหางยาวปลายแหลมชี้ตรง สูงเด่น ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว สีผิวกายขาว มีสองสีคือสีฟ้าและสีเหลืองอำพัน เมื่อเอาแมวขาวปลอดตาสีฟ้า ผสมกับแมวขาวปลอดตาสีอำพันลูกผสมที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ ข้างหนึ่งตาสีฟ้าและอีกข้างหนึ่งตาสีเหลืองอำพัน ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Old Eyes พันธุ์แท้ คือ สีผิวกายต้องสีขาวปลิดทั้ง





     แมวศุภลักษณ์
ศุภลักษณ์ หรือทองแดง มีผู้นำไปจดทะเบียนว่า เป็นแมวพม่า แต่แท้จริงแล้วเป็นแมวไทย เนื่องจากโครงสร้าง และลักษณะนิสัยเหมือน แมวไทยมาก เนื่องจากมีสีขนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เหมือนสีทองแดง และหางจะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณ ลำตัว หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง 






   
      
     
     แมวโกญจา
โกญจา หรือแมวดำปลอด ตามตำราสมุดข่อยโบราณ ต้อง เป็นแมวที่มีสีดำ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสีขน ฟัน ลิ้น ดวงตา และลิ้น แต่ในปัจจุบันแมวในลักษณะนี้ไม่มีปรากฎ จึงเหลือเพียงแต่สีขน ที่เป็นสีดำสนิททั่วทั้งร่าง ไม่มีสีอื่นแซม หรือปน ขนละเอียดบางคนเรียกว่า ดำมงคล มีดวงตาเหมือนสีดอกบวบแรกแย้ม หรือสีเหลืองนั่นเองมีลักษณะสง่างามเหมือนสิงโต ปากและหางเรียว ตามหลักฐานโบราณกล่าวว่า " แมวนี้ถ้าเลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามา อย่าแคลงสงสัย"
     
    แมวสีสวาด
แมวสีสวาดหรือแมวโคราช นิสัย เชื่อง รักความสะอาด เหมาะที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา  ลักษณะรูปร่างขนาดปานกลาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว หางยาวปลายแหลมชี้ตรง หัวคล้ายรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่แบน จมูกสั้น หูใหญ่ตั้งสูงเด่น ตามี ๒ สี คือสีฟ้าหรือสีเหลืองอำพันหรืออีกข้างหนึ่งสีฟ้า อีกข้างหนึ่งสีเหลืองอำพัน ขนสั้นแน่นอ่อนนุ่มสีลำตัว เป็นสีขาวตลอดลำตัว






วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องแมวๆ

        จะกล่าวถึงประวัติศาตร์อันยาวนานย้อนหลังไปเมื่อ 4,000 ปีก่อนโน้น ในยุคอียิปต์โบราณ แมวได้ถือเป็นสัตว์เทพเจ้า เนื่องมาจาก พวกชาวนาได้นำแมวมาฝึกให้จับหนูในนา เมื่อหนูหมดไปทำให้พืชผลไม่เสียหาย และโรคภัยที่เกิดจากหนูก็ไม่เกิดขึ้นอีก

        "เฟลิส คาตัส" ( Felis Catus) คือชื่อของเรียกทั่วไปของแมวในภาษาลาติน  แมวเป็นสัตว์เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ แมวมีอยู่ในทุกทวีป รูปร่างลักษณะและโครงสร้างคล้ายคลึงกัน แต่ขนาดอาจผิดกันและความยาวของขนต่างกัน ชาวตะวันตกเชื่อกันว่าแมวนั้นเดิมเป็นสัตว์ในแอฟริกา ชาวอียิปต์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านจนกระจายไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก 

        แมวพันธุ์แรก คือ อบิสซีเนียขายาว หน้าแหลมยาว ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะออกไปต่างๆ นานาตามหลักทางชีววิทยา แต่ที่ยังคงลักษณะรูปเดิม คือมีรูปร่างเพรียว หน้าแหลม ตาคม สัญนิฐานกันว่าเหลือเพียง สามพันธุ์ในโลก คือ แมวอบิสซิเนียน แมวอียิปต์ และแมวไทย แมวทั้งสามพันธุ์นี้หน้าตา ไม่แตกต่างกันมากนัก สองชนิดแรกสัญนิฐานว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว คงเหลือแต่ "แมวไทย" ที่นับเป็นพันธุ์เก่าแก่ัที่สุดในโลกอยู่พันธุ์เดียว บรรพบุรุษของแมวไทยน่าจะเป็นแมวอียิป์ เพราะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมาก โดยที่ทางอียิปต์เรียกแมวว่า "เมียว" มีข้อสันนิษฐาน การมาของแมวมายังแถบตะวันออกว่าว่า ในการเดินเรือการค้าสมัยโบราณจากอียิปต์มายังแถบ ตะวันออก อาจจะมีกะลาสีเอาแมวใส่ไว้ในเรือเพื่อจับหนู แมวอียิปต์จึงมาเผยแพร่ถึงทางตะวันออก ก็เป็นได้ 

        เมื่อปี พ.ศ. 2427 นายโอเวน กูลด์ กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้นำแมวไทยคู่หนึ่งจากประเทศไทยไปฝากน้องสาวที่อังกฤษ 1 ปีต่อมาแมวคู่นั้นได้เข้าประกวดที่คริสตัลพาเลซ และได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้ชาวอังกฤษพากันเลี้ยงแมวไทย และก่อตั้งสโมสร The Siamese Cat Clubs ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2433 และต่อมา ได้มีการตั้งสมาคมแมวไทยแห่งจักรวรรดิอังกฤษขึ้นในปี พ.ศ. 2471

        หลังจากที่แมวไทยได้ทำชื่อเสียง ในอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ทรงเห็นว่าแมวไทยเป็นสัญลักษณ์ ที่จะสามารถทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยได้ จึงพระราชทานแมวไทยให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ในหลายๆประเทศ จนทำให้แมวไทย และประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก